ห้องเรียนคุณภาพ
องค์ประกอบของห้องเรียนคุณภาพประกอบด้วย
ครู
1. ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ( BWD )
3. การใช้ ICT เพื่อการสอนและการสนับสนุนการสอน
4. การวิจัยในชั้นเรียน ( CAR )
5. สร้างวินัยเชิงบวก ( Positive Discipline
ผู้บริหารสถานศึกษา
1. ผู้บริหารผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. หลักสูตร
3. ICT โรงเรียน
4. การวางแผนพัฒนาตนเอง( ID Plan)
5. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ในระดับครูผู้สอน จะต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. Effective Syllabus : กำหนดหน่วยการเรียนรู้/หลักสูตรระดับรายวิชาที่มีประสิทธิภาพ
2. Effective Lesson Plan : จัดทำแผนการสอน/แผนจัดการเรียนรู้๔ที่มีประสิทธิภาพ
3. Effective Teaching : จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
4. Effective Assessment : วัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างวินัยเชิงบวก
การสร้างวินัยเชิงบวก คือ การปฏิบัติต่อเด็กในฐานะผู้ที่กำลังเรียนรู้โดยปราศจากการใช้ความรุนแรงและเคารพในศักดิ์ศรีเป็นแนวทางในการสอนที่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จให้ความรู้แก่เด็ก และสนับสนุนการเติบโต
สรุปได้ว่าการสร้างวินัยเชิงบวก คือต้อง ปราศจากความรุนแรง มุ่งที่การแก้ปัญหา เคารพในศักดิ์ศรี และอยู่บนหลักของการพัฒนาเด็ก
หลัก 7 ประการของการสร้างวินัยเชิงบวก
1. เคารพศักดิ์ศรีของเด็ก
2. พยายามพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การมีวินัยในตนเอง และบุคลิกลักษณะที่ดี
3. พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด
4. คำนึงถึงความต้องการทางพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็ก
5. คำนึงถึงแรงจูงใจและโลกทัศน์ของเด็ก
6. พยายามให้เกิดความยุติธรรม เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติ
7. เสริมสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในกลุ่ม
ขั้นตอนของการสร้างวินัยเชิงบวก
1. มีการบรรยายถึงพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น ตอนนี้ครูขอให้ทุกคนเงียบก่อนนะ
2. มีการให้เหตุผลที่ชัดเจน เช่น เราจะเริ่มเรียนคณิตศาสตร์บทใหม่แล้ว ทุกคนต้องตั้งใจฟังนะ ซึ่งหมายความว่าการเงียบโดยเร็วเป็นการเคารพสิทธิผู้อื่น เป็นตัวอย่างของการปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนกับที่เราอยากให้เขาปฏิบัติต่อเรา
3. ขอให้นักเรียนแสดงอาการรับรู้ เช่น เธอเห็นรึยังว่าทำไมการเงียบก่อนเริ่มเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ แล้วคอยให้นักเรียนแสดงอาการรับรู้และเห็นชอบด้วยก่อนทำอย่างอื่นต่อไป
4. มีการให้รางวัลหรือแสดงความชื่นชมต่อพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น โดยการสบตา พยักหน้า ยิ้มหรือให้เวลาพักเล่นอีกห้านาที การให้คะแนนเพิ่ม ( การได้รับการยอมรับและชื่นชมจากสังคมเป็นรางวัลที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง
การวิจัยในชั้นเรียน ( CAR )
CAR : Classroom Action Research
CAR มีขั้นตอนการปฏิบัติอยู่ 4 ขั้นตอน
CAR1 : การวิเคราะห์ผู้เรียน
CAR2 : การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และการสอนของตนเอง
CAR3 : การแก้ปัญหานักเรียน
CAR4 : การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และ ID Plan
การวางแผนพัฒนาตนเอง ( ID Plan )
ID Plan : Individual Development Plan
ID Plan ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ( ทั่วไป )
ส่วนที่ 2 ข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่
ส่วนที่ 3 การพัฒนาตนเองตามสมรรถนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น